วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

เพิ่งเข้าใจ ภายใต้ความสวยงามมันมีนัยสำคัญแฝงอยู่


หลังจากร่างหัข้องานวิจัยเสร๊จตอนเช้าตรู่ อารมภ์ดีเกิดอยากเดินเล่นเพราะวันนี้อารมภ์ดีและอากาศเป็นใจ แดดกำลังดีเลย แต่ความหนาวยังไม่ไปไหนแม้ดูด้วยตาคิดว่าคงจะอุ่น ว่าแล้วก็เดินเล่นดีกว่า คว้ากล้องประจำตัว กระเป๋าตัง อ้ออย่าลืมรายละเอียดบัญชี่คุณพี่ชายเติ้งเขาล่ะ ต้องจัดการให้เสร็จวันนี้วันเสาร์

แค่เปิดประตู ลมหนาวก็กระหน่ำเข้ามาเลย เอาวะแดดดี โอกาสดีอย่างนี้หายากในหน้าหนาว เดินไป ฟังเพลงไป ดอกไม้ที่นี่สีสดดีจัง หญ้าคลุมดินก็เขียวดี คงเพราะฝนตกตลอดปี ก้มมองเท้าตัวเองเพราะเย็นที่เท้าก็วันนี้ใส่คอนเวิร์สคู่เกาเก๋า

ที่มีรูระบายอากาศเสริมช่วงหน้าด้วย พื้นทางเดินสวยจัง ปูด้วยหินก้อนสี่เหลี่ยมผืนผ้าวางสลับกันอย่างเว้นระยะห่างซักสองเซ็นติเมตรละมั้ง

ถามตัวเองว่าทำไมมันรวยจัง เอาหินมาทำพื้น ต้นทุนคงจะมากโขอยู่ แถมไม่ได้ทำแต่พื้นที่น้อยๆ เห็นได้ทั่วไปเลยซะด้วย ถ้าเพื่อสวยอย่างเดียว จะคุ้มเหรอ แล้วทำไมไม่เลือกวิธีอื่นที่ได้ความสวยงามเหมือนกัน แต่ต้นทุนต่ำกว่านี้ จริงอยู่ว่าหินทนทาน ระยะการใช้งานนานกว่า คอนกรีต หรือไม้ หรือถมดินเฉย แต่พอนึกถึงต้นทุนก็ชะงักเช่นกัน หรือว่า เขามีหินกันมากมายนะที่อังกิดนี่ อือ จำได้ว่าตอนไปทัศนศึกษาผู้นำทัวร์ก็เกริ่นอยู่ว่าแถบทางใต้นี้มีหินมาก ไม่เหมาะกับเพราะปลูก เลยหันมาทำธุรกิจเลี้ยงสัตว์แทน

เดินลอยลำซักพักก็เห็นที่จอดรถหน้าบ้านแต่ละหลัง พื้นใช้หินปูเช่นกัน มีช่องว่างให้ต้นหญ้าแซมขึ้นมาด้วยสวยดี อีกแบบคือ ใช้หินกรวดขนาดเล็กหนึ่งเซ็นมั้งโรยหน้า แต่พอมองดี ข้างใต้กรวดมีแผงตระแกรงสี่เลี่ยมตีเป็นตารางทำจากพลาสติ เดาว่าประโยชน์เพื่อหนึ่งกันการเกิดลูกคลื่นของถนน และสองดักก้อนกรวดให้อยู่ในพื้นที่ ไม่หลุดกระเด็นออกไปตามแรงล้อหมุนของรถ

พอเอาเรื่องพื้นปูด้วยหิน ผนวกเข้ากับพื้นที่จอดรถ สังเกตุเห็นว่าทั้งหมดมีอย่างหนึ่งที่เหมือนกันคือ สร้างแรงต้านทานโดยการสร้างพื้นผิวที่ขรุขระ นึกไปถึงโครงการ Coastal Smart Growth ในสหรัฐอเมริกาที่ใช้เพื่อควบคุมการไหลบ่าของน้ำท่าแบะลดมลพิษสู่แหล่งน้ำ ด้วยวิธีการใช้ธรรมชาติเช่นพืชคลุมดิน เป็นตัวดักมลพิษ ตะกอนต่างๆ และสร้างแรงต้านชลอการไหลของน้ำได้ เคยอ่านคู่มือในเวบ ก็มีคำแนะนำด้านการออกแบบถนน ที่จอดรถว่าให้มีช่องว่างและใช้พืชคลุมดิน

สุดท้ายเลยมาถึงบางอ้อว่าภายใต้ความสวยงาม มันมีประโยชน์แฝงอยู่ที่ช่วยชลอการไหลบ่าของน้ำท่า และกรองสารพิษที่ไหลมาตามน้ำเมื่อฝนตก เมื่อมามองเรื่องต้นทุนอีกที มันคุ้มค่าที่จะลงทุนแล้วล่ะ ก็ประโยชน์เยอะขนาดนี้นี่นา ได้ทั้ง ความสวยงาม รักษาสิ่งแวดล้อม ใช้งามได้อย่างครบถ้วน และวัสดุก็หาได้ในท้องถิ่นด้วย

เลยกระตุ้นต่อมความอยากรู้ในงานวิจัยหัวข้อที่เพิ่งร่างเสร็จไปเข้าไปอีหเป็นเท่าตัวเลย

Develpment of Koh Larn island toward Coastal Smart Growth

แดดดีจริงๆ ดอกไม้สีสันสดได้ใจ แต่ขากลับฝนลงเม็ดมา ทั้งเปียกทั้งหนาวเลย ช้ปหมดไป 22 ปอนด์แน่ะ เอาน่า ไม่บ่อยซะหน่อย ได้ของตั้งเยอะเนอะ เข้าข้างตัวเองจริงๆ

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2551

Ecological Footprint



โลกเล็กไป หรือ?!?!

ชาวลอนดอนต้องใช้โลกถึงสามใบเพื่อรองรับกิจกรรม โลกสามใบ งั้นเหรอ?!?!

นอกจากภัยธรรมชาติแล้ว อัตราการเผาผลาญวัตถุดิบจากธรรมชาติเป็นสิ่งที่เหล่านักสิ่งแวดล้อมผู้รอบรู้ห่วง ด้วยประชากรที่เพิ่มขึ้นทุกวัน และรูปแบบการใช้ชีวิตแบบคนเมือง ทรัพยากรต่างๆจึงถูกใช้เพิ่มสูงขึ้นตามจำนวน อาจสูงจนถึงจุดหนึ่งที่ทรัพยากรไม่พอเพียงต่อประชากร หากขาดการจัดการที่ดีพอเครื่องมือ อย่างหนึ่งที่ถูกพัฒนาเพื่อนำมาใช้ในการวัดปริมาณการใช้ทรัพยากรเรียกว่า รอยเท้าทางนิเวศน์ Ecological Footprint (EF)

รอยเท้าทางนิเวศน์ คือวิธีวัดผลกระทบของกิจกรรมของมนุษย์ต่อโลก โดยคำนวณจากปริมาณการบริโภคและจากขยะ (เช่น การกินเนื้อสัตว์ของเรา จะถูกแปลงย้อนกลับไปว่า ใช้ที่ดิน น้ำ ปุ๋ย เคมี น้ำมันในขนส่ง ฯลฯ เท่าไรในการปลูก และขนส่งถึงผู้บริโภค) และรวมถึงกิจกรรมที่ลดความสามารถในการผลิตของโลกด้วยนะ (เช่น ของเสียที่ทำลายสิ่งแวดล้อม) ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นหน่วย Global Hectares per capita-gha/cap) หรือ หน่วยพื้นโลกทั้งใบเฮคเตร์ ( 1.6 ไร่= 1 เฮคเตร์)

ค่าเฉลี่ยของรอยเท้าทาวนิเวศน์ (EF) ในระดับโลกอยู่ที่ 1.9 GHA ของไทยเราอยู่ที่ 1.38 GHA (สหรัฐอารับอิมิเรต อเมริกา อังกฤษ ซึ่งอยู่ที่ 11.87, 9.59, 5.59 ตามลำดับ) (ที่มา: WWF 2006)

ตัวเลขนี้บ่งบอกอะไรกับเรา แล้วทำไมต้องมานั่งทำความเข้าใจ สั้นๆ คร่าวๆ คือ ตัวเลขนี้เปรียบเสมือนพื้นที่ต่อบุคคลบนโลก ธรรมชาติจัดสรรให้เรามา 1.9 เฮคเตร์ หากเราใช้เกินกว่านั้น มันบ่งบอกเป็นนัยว่า เราต้องการโลกที่ใบใหญ่กว่านี้ ซึ่งนั่นหมายถึงบ่งบอกเราว่า เราอาศัยโลกใบนี้อย่างพอดี หรือเกินพอดี กับกิจกรรมประจำวันของเรา ของชาติ และของโลก ที่สำคัญ EF บ่งบอกเราว่า เรายืนอยู่ ณ จุดไหน และทิศทางใดที่เราควรจะเดินไปเพื่อนำเราไปสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน หลักๆ นั่นหมายถึงคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย ทั้งหลายทั้งปวงก็เพื่อน สุขภาพที่ดี การเป็นอยู่ที่ดี และการอยู่รอดของมนุษย์และโลก

มาถึงประเทศไทย ตัวเลข EF ของเราคือ 1.38 gha/cap (ก็ไม่สูงกว่าของโลกนี่) ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี แต่เมื่อพิจารณาจริงๆแล้ว พื้นที่บางส่วนไม่สามารถผลิตอะไรได้ (เช่น พื้นที่ถนน บ้านเรือน เป็นต้น) และปริมาณพื้นที่นั้นก็เพิ่มขึ้นทุกวันจากการขยายตัวของเมือง ประชากรที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราส่วนพื้นที่ที่ก่อผลผลิตนั้นลดลงไปด้วย กล่าวอ้างจากบทความที่ไม่มีชื่อผู้เขียนระบุว่า ประเทศไทยกำลังใช้พื้นที่มากกว่าที่มีอยู่ร้อยละ 60 นั่นหมายถึง กิจกรรมการอุปโภค บริโภคของคนไทย เกินพอดี และกำลังก้าวเข้าข่ายเบียดเบียนผู้ร่วมโลก (ไม่ได้กระแทกประเทศมหาอำนาจทั้งหลาย ที่มี EF สูงๆนะคะ ^_^ คนไทยเราโชคดีค่ะที่ผืนแผ่นดินให้ความอุดมสมบูรณ์ เพาะปลุกอุดมสมบูรณ์ แต่หากการจัดการที่ดีด้านกิจกรรมที่ไปกีดขวางการผลิตของธรรมชาติ (เช่น ปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำ ทำให้ปลาลดลง หรือ ใช้น้ำมันในการขับขี่มาก ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน กระทบต่อการเพาะปลูก เป็นต้น) ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญและฝ่ายบริหารจัดการ

.................แต่ทราบหรือไม่ว่า………………………….

เราจะวัดรอยเท้าได้อย่างไร

ตัวอย่างที่แสดงในที่นี้ จะช่วยในการคำนวณรอยเท้าทางนิเวศน์ของรถยนต์คันหนึ่ง เมื่อท่านขับรถ ของเสียที่สำคัญจากรถ ได้แก่ก๊าซที่เกิดขึ้น ทำอย่างไรก๊าซเหล่านี้ จึงจะถูกแปรเป็นปริมาณพื้นที่เพื่อนำไปรวมไว้ในการคำนวณรอยเท้า

เรื่องนี้ค่อนข้างง่าย ก๊าซเหล่านี้สามารถนำไปแปรเป็นค่าของต้นไม้ และพื้นที่ที่ต้นไม้เหล่านี้ต้องการเพื่อดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมด โดยคำนวณได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้:

· รถยนต์ขนาดกลางโดยทั่วไป จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณ 160 กรัมต่อกิโลเมตร

· หากขับรถปีละ 10,000 กม. จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณ 1.6 ตัน

· การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปริมาณ 3 ตัน จะต้องอาศัยป่าพื้นที่ 1 เฮคตาร์ต่อปี ซึ่งป่านั้นต้องมีต้นไม้ที่เติบโตอยู่โดยอาศัยการสังเคราะห์แสง

· ดังนั้น เพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จำนวน 1.6 ตัน จำเป็นต้องใช้ป่าในพื้นที่ 0.53 เฮคตาร์

นั่นคือ ป่าในพื้นที่กว่าครึ่งเฮคตาร์ จึงสามารถช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยรถหนึ่งคันในหนึ่งปี นี่คือพื้นที่ซึ่งกว้างประมาณหนึ่งสนามฟุตบอล และนี่คือรอยเท้าทางนิเวศน์ของรถยนต์ในขณะที่ท่านขับ

นี่ มิใช่ รอยเท้าทางนิเวศน์ของรถยนต์ท่านทั้งหมด เนื่องจากตัวเลขดังกล่าว ยังไม่ได้รวมถึงพลังงานทั้งหมดที่ใช้ขึ้นมาเพื่อผลิตรถ วัตถุดิบที่นำมาผลิต หรือพื้นที่ที่จะต้องใช้เมื่อท่านจะทิ้งรถยนต์คันนี้

(ที่มา: จากบทความ ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง)

จากงานวิจัยต่างๆ หรือวัดจากความรู้สึกก็คงต้องยอมรับล่ะค่ะว่า ประชาชนทั่วไป อย่างเราเป็นต้นเหตุหลักของของเสียต่างๆ ทั้ง น้ำเสีย ขยะ มลพิษทางอากาศ ฯลฯ และเราก็เป็นตัวการหลักๆในการอุปโภค บริโภค ทรัพยากรต่างๆผ่านกิจกรรมของเรา (แน่นอนค่ะ ก็คำว่าประชาชน นี่คะ) ดังนั้น เมื่อเราเป็นผู้สร้าง(ด้วยความจำเป็น และไม่จำเป็น)ของเสียเหล่านั้นได้ ก็แสดงว่า เรามีอิทธิพลอย่างมากต่อโลกใบนี้ และนั่นก็หมายถึง เราก็สามารถทำให้ปริมาณของเสียนั้นลดน้อยลงได้อย่างไม่ต้องสงสัย ตอนนี้เมื่อเรารู้แล้วว่าเราทำได้ แล้วจะทำอย่างไรล่ะ (น่าสนใจ............) ด้านล่างเป็น 10 เคล็ดลับง่ายๆที่เรา บุคคลธรรมดาสามารถทำได้ผ่านกิจวัตรประจำวัน

เคล็ดลับ 10 ข้อ เพื่อลดรอยเท้า

ที่มา: http://www.newdream.org/cnad/user/turn_the_tide.php

1. ขับขี่ให้น้อยลง เปลี่ยนมาใช้พลังงานชีวภาพ (ศัพท์ส่วนตัวค่ะ) เช่น เดิน ขี่จักรยาน เป็นต้น

2. ลด การกินเนื้อ (โดยเฉพาะเนื้อวัว) อาทิตย์ละหนึ่งมื้อ

3. เลือกทานอาหารทะเล ที่เพาะเลี้ยงอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

4. งดรับจดหมายขยะ (Junk mail)

5. ใช้หลอดประหยัดไฟ เพื่อลดการใช้ไฟฟ้า

6. ลดการใช้เครื่องปรับความเย็น ด้วยการสวมเมื้อผ้าที่เหมาะสม และเปลี่ยนมาใช้แอร์รุ่นประหยัดพลังงาน

7. ลดการใช้เครื่องทำความร้อน โดยการสวมเสื้อผ้าอุ่นๆ

8. เลิกใช้ยาฆ่าหญ้า หันมาใช้วิธีธรรมชาติ

9. ลดปริมาณการใช้น้ำในบ้าน

1. ชักชวนเพื่อนๆ คนรอบตัว มาร่วมกับคุณ

วิธีการใช้ชีวิตของเราส่งผลต่อรอยเท้าของเราค่ะ จากที่เห็นว่าประเทศต่างๆมีรอยเท้าต่างกันไป นั่นก็เพราะรูปแบบการใช้ชีวิตแตกต่างกัน บุคคลร่ำรวยจะมีรอยเท้าใหญ่กว่า เพราะพวกเขาใช้พลังงานมากเพื่อทำให้บ้านหลังใหญ่สว่าง (ถ้าบ้านหลังนั้นไม่ได้ใช้เทคโนโลยีสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทตย์ หรือพลังงานลม) เดินทางโดยเครื่องบินบ่อยกว่า มีรถยนต์มากกว่าหนึ่งคัน บริโภคอาหารแปรรูป (อาหารแช่แข็ง)บ่อยกว่า ใช้ของแบรนด์เนมนำเข้าจากต่างประเทศ เป็นต้น

จากประสบการณ์ตรงในประเทศอังกฤษ อาหารแช่แข็งพบเห็นและหาซื้อได้ง่ายและเกลื่อนกลาด ชาวอังกฤษจึงมีอุปนิสัยบริโภคอาหารแช่แข็งเป็นกิจวัตร แม้แต่ตัวผู้เขียนจากไม่เคยบริโภคอาหารแช่แข็งเมื่อตอนอยู่เมืองไทย ก็เริ่มจะหันมาบริโภคอาหารแช่แข็งเพราะ สะดวก หาซื้อง่าย เก็บได้นาน และที่สำคัญ ราคาถูกกว่า อาหารสด (เช่นผักสด green bean ที่อังกฤษแพงมาก แต่แช่แข็งกลับถูกกว่า) ผลไม้ส่วนมากก็นำเข้าจากแอฟริกา ข้าวจากอินเดียและไทย

แต่ชื่นชมที่ชาวอังกฤษเขา ไม่ทิ้งขยะลงพื้นถนนค่ะ บ้านเมืองเลยสะอาด ดูสวย ไม่รกและขาวเป็นจุดๆแบบเมืองไทย ที่เห็นได้ชัดก็ประชาชนมีจิตสำนึก คัดแยกขยะ รีไซเคิล ลงถังที่จัดไว้ให้ (รัฐบาลจัดให้สองถังต่างสีสำหรับแต่ละบ้าน สีน้ำตาลคือขยะทั่วไป สีเขียวคือขยะรีไซเคิล และถังรวม ขวดและแก้ว ของแต่ละชุมชน ส่วนตามมหาวิทยาลัย มีถังแบบพิเศษ คือ แยกขยะสามประเภทในถังเดียว แล้วนักศึกษาส่วนมากก็ทิ้งได้ถูกประเภทด้วย แม้แต่นักเรียนต่างชาติอย่างเราก็ทำตาม เพราะคนส่วนมากทำ ............)

เอาล่ะค่ะ คงจะพอมองเห็นถึงความสำคัญ ของการรู้ขนาดรอยเท้าของเรา และก็ได้รับรู้แล้วว่าเรา ประชาชนทั่วไป สามารถสร้าง ความแตกต่าง ได้ โดยง่ายเริ่มที่ ทัศนคติ นะคะ ถามตัวเองค่ะว่าอยากเห็นน้ำใสสะอาดในแม่น้ำ ทะเลใสมรกต ต้นไม้เขียวชอุ่มสองข้างทางถนน ถนนหนทางสะอาดสะอาด งามตา อากาศบริสุทธิ์สูดหายใจลึกๆได้เต็มปอด ผู้คนยิ้มแย้มแจ่มใส ทักทายยามเช้า หรือเปล่า เชื่อว่าคงไม่มีใครตอบไม่นะคะ ขั้นต่อไป บอกตัวเองค่ะว่า เราสร้างความแตกต่างได้ เริ่มจากตัวเรา เดี๋ยวนี้ (อาจมีความแคลงใจ เช่น เราคนเดียวจะสร้างความแตกต่างได้ซักแค่ไหน หากคนส่วนใหญ่ไม่ทำ หรือ โรงงานอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษไม่ตอบสนอง คำตอบก็คือ ความแคลงใจนี้จะคงอยู่ต่อไปตราบเท่าที่ ไม่มีใครลงมือทำ เราก็ตั้งคำถามคนอื่น คนอื่นก็ตั้งคำถามเรา สรุปคือไม่มีใครทำอะไร และเต็มใจที่จะใช้ชีวิตอยู่กับสภาพแวดล้อมแย่ๆ และก็ได้แต่คิดว่า เกินกำลัง ทั้งที่ยังไม่ได้ทำอะไรเลย และโยนความผิดให้ผู้อื่นเพื่อทำให้ตนไม่รู้สึกผิดต่อการไม่ทำอะไร ในทางกลับกันหาก ต่างคนต่างคิดว่า เราทำได้ เราสร้างความแตกต่างได้ เริ่มที่เรานี่ล่ะ ไม่เกี่ยงกันว่าใครควรจะทำก่อน หลัง) ในประเทศยุโรป มีการทำผลสำรวจ ทัศนคติ ของชาวยุโรปด้านสิ่งแวดล้อม ผลออกมาว่า ชาวยุโรปก็มีความแคลงใจต่อผู้อื่น และต่อโรงงานเช่นกัน แต่เขาก็ปฏิบัติในส่วนที่เขาทำได้ ทั้งๆที่ความแคลงใจนั้นไม่ได้หมดไป แต่ความต้องการที่จะอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดีมีแรงผลักดันมากกว่า ประชากรส่วนใหญ่ยอมเสียภาษีเพิ่ม (แต่ควรเก็บเพิ่ม) หากรัฐจะนำไปใช้เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม ผลที่ได้ก็คือบ้านเมืองสวยงาม สะอาด อย่าง สวิสเซอร์แลนด์ เป็นต้น สรุปเริ่มที่ ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ ของเราเองก่อน เลิกทำให้ตนเองรู้สึกดีด้วยการโทษสิ่งอื่นที่เราควบคุมไม่ได้

ขั้นต่อไปหลังจากปรับเปลี่ยนทัศนคติ และอยากเข้ามาเสริมสร้างโลกก็เริ่ม ลงมือทำ นับจากนี้ล่ะค่ะ โดยใช้แนวทางนี้เป็นตัวช่วย (ตัวช่วยเท่านั้นนะคะ ยังมีอีกหลายวิธี คุณอาจคิดค้นขึ้นมาเองก็ได้ อัจฉริยะสร้างได้)

http://www.earthday.net/Footprint/english/individuals.asp?country=Thailand&langauge=English&total=15.9&food=0.6&shelter=0.2&mobility=7.5&gAnds=7.6&planets=8.8&pid=5228387727363360&hect_total=15.9&sess_natavg=1.5

27 ธันวาคม 2550

แบ่งปัน ถ่ายทอด โดย: นส.กิติมา อินทิแสง

Msc. Water and Coastal Mangement

“Better Thinking, Better quality of life”

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ตื่นเถิดชาวไทย อย่าเอาเปรียบลูกหลาน

ชาวโลกตื่นตัวแล้ว ไทยเราก็ตื่นตัวเช่นกัน ลองอ่านี่ดู แล้วเข้าไปทดสอบตัวเองที่เวบไซต์ข้างล่าง
คุณเอาเปรีบยเพื่อนๆ ชาวไทย และชาวโลก หรือเปล่า ด้วยการใช้ทรัพยากรธรรมชาตมากกว่า ผ่านทางเปิดไฟทิ้งไว้ สตาร์ทเครื่องทิ้งไว้ ทานเนื้อมาก (ยังไง งง) หาคำตอบได้ถ้าคุณอยากรู้

สิ่งที่ต้องทำ
  1. ดาวน์โหลดเอกสารแนบ แล้วอ่าน
  2. ทดสอบตัวเองในเวบไซท์ http://www.bestfootforward.com/ และ http://www.earthday.net/footprint/info.asp
เพราะรักเพื่อนทุกคน ถึงส่งมาให้
อาจจะถามทำไม ..............

เพื่อนๆคนไม่สุขใจนัก ถ้า..........ลูกๆ หลาน เรา..........สงสัยว่า............

..................น้ำใสเหมือนคริสตัล...............
......น้ำฝนหวานเย็นชื่นใจที่ดื่มได้ (ที่เราไม่ได้ดื่ม(เพราดื่มไม่ได้)).............
.........................ปลาพะยูน...........นกเงือก.........ปะการัมือเสือ............
.........

...เป็นยังไง สวยไหม ทำไมหนู..........ไม่เห็นเคยเห็นล่ะคะ..........??!?!?!?

ไม่ใช่แค่ความ.......สวยงาม....ที่จะไม่มีให้เห็น

..........................น้ำสะอาด ที่ใช้อุปโภค บริโภค อย่างสะดวกสบายในปัจจุบัน..............
ต้องซื้อหา แข่งขัน แย่งชิง................เหมือน..น้ำมัน...ในตอนนี้
.....แต่.............น้ำ...........ร้ายแรงกว่า......................เมื่อเราอยู่ไม่ได้.........หากขาดน้ำ........
ดังนั้น.....แพงแค่ไหน ลำบากเท่าไร ...............ก็ต้องหามา................
แล้วคนจนที่ไม่มีกำลังซื้อหาล่ะ.................น้ำไร้คุณภาพ.................ปัญหาสุขภาพ.....โรคระบาด............

เริ่มวันนี้...........ยังทัน............ดีกว่า...............เป็นผู้สมรู้ร่วมคิด...........อาชญากรรมโลก

...........ทั้งหมด......ไม่ใช่เพื่อโลก.....แต่..............เพื่อตัวเราเอง..........

คำเตื่อนจากผู้หญิงชาวมาร์
นามว่า KITTY (เติ้ล)

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เล่าเรื่อง "น้ำ"

ที่อังกฤษเค้าเรียนกันด้านนี้เยอะมากๆ และงานรองรับเยอะด้วยทั้งองค์กรในประเทศและต่างประเทศ ชาวอังกฤษมีโอกาสหางานด้านนี้เยอะกว่าเราเพราะองค์กรที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารเป็นหลัก ถ้าเราสามารถทำงานใช้ภาษาได้ก็ไม่ต้องห่วงเรื่องงานค่ะ

คุณภาพของทะเล ก็คือคุณภาพของโลกนะคะ ถ้ารู้จักทะเลแล้วต้องตะลึงในความน่าทึ่งและ ผลกระทบต่อโลกมีมากมหาศาลจนอยากจะพูดได้ว่าสุขภาพของสิ่งมีชีวิตบนพื้นดิน ได้รับผลพวงจากท้องทะเล และในทางกลับกัน สุขภาพของทะเล ก็ได้รับจากพื้นดินเช่นกัน

ที่ ออกเตรเลีย อังกฤษ อเมริกา ผู้คนให้ความสนใจวิทยาศาสตร์ทางทะเลมากค่ะ ยิ่งตอนนี้เรื่องภาวะโลกร้อน ระดับน้ำทะเล อุณหภูมโลกและน้ำทำเล ส่งผลกระทบทุกด้าน เอาเป็นว่าที่ออสเตรเลีย เขาหาเสียงกันด้วยการยกประเด็นเรื่องแก้ไขปัญหาโลกร้อนมาเรียกคะแนนโวท ท่าทางจะสำเร็จซะด้วยนะคะ
ที่อังกฤษ นโยบายระดับชาติ ผนวกเอาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลมาช่วยในการออกนโยบายการจัดการด้านน้ำท่วม Flood risk management เขาเตรียมรับมือกับภาวะน้ำทำเลสูงขึ้นด้วยนโยบายใหม่ออกมเื่อต้นปี2000 ชื่อ Making Space Fore Water (DEFRA, ใช้การจัดการแบบระบบธรรมชาต soft engineer (เช่น สร้างพื้นที่ saltmarsh) แทนระบบโครงสร้างอย่างเขื่อนคอนกรีต (seawall, hard engineer)

เห็นได้ว่า ประเทศพัฒนาแล้วมีความรู้และพยายามศึกษาธรรมชาต และผนวกธรรมชาติร่วมในการตัดสินใจในนโยบายระดับชาติ แต่น่าเศร้าที่ ประเทศไทยเรายังไม่มีการับมือด้านนี้อย่างพอเพียง ดังนั้นเมื่อเกิดภัยภิบัติในรูปแบบต่างๆ ความเสียหายจึงมากกว่าประเทศเจิญแล้ว นั่นไม่ใช่เพราะว่าเราโดนภัยธรรมชาติที่หนักหนา แต่เป็นเพราะเราขาดแคลนการจัดการที่มีประสิทธิภาพที่จะรับมือกับเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นทั้งที่คาดไว้ และไม่คาดคิด

นี่ล่ะคือข้อแตกต่างที่ใหญ่ยิ่งระหว่าง ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศพัฒนาแล้ว ที่้เรา ประเทศไทยและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องเร่งมือปรับปรุง โดยเริ่มจากการตระหนักรู้ว่าเราอยู่ตรงไหนก่อนเป็นอันดับแรก

ข้างบนนั้นเป็นแง่ของการจัดการ ซึ่งหลักๆแล้วองค์กรรัฐบาลเป็นผู้ดูแล
แล้วเราล่ะ ประชาชนผู้ซึ่งมาจำนวนมหาศาาลมากก่วาผู้ออกนโยบายหลายสิบเท่าตัว
เราตระหนักรู้ขนาดไหนว่าเรายืน ณ. จุดไหน ส้ราง หรือ ทำลายสิ่งแวดล้อม (ทั้งรู้ตัว และไม่รู้ตัว)

เราอาจจะคิดว่าเราแค่คนๆเดียว จะส่งผลอะไรมากมายต่อโลกทั้งไป ต่อประชากร 7,000 ล้านคนทั่วโลก ทุกวันนี้ทุกคน (ส่วนมาก) คิดแบบนี้ แต่เพราะความคิดแบบนี้แหล่ะที่ทำลายเราทั้งโลก

นักวิทยาศาสตร์ สำรวจและยืนยันแล้วว่า มลพิษที่ส่งผลต่อน้ำทะเลมากที่สุด มาจาก "การขับถ่ายของมนุษย์" (ลองคิดดูว่า เพราะเราต้องการประหยัดเงินในการติดตั้งถังบำบัดเพราะคิดว่าไม่เป็นไรหรอก ครอบครัวเรามีแค่สองสามคน จะส่งผลกระทบอะไรมากมาย แต่เผอิญว่าหลายๆครอบครัวคิดแบบนี้)

มาดูวงจรการสุญเสียที่เกิดขึ้นจาก การขับถ่ายของมนุษย์ที่ไม่ได้บำบัดกันนะคะ

ของเสียไม่บำบัด > น้ำทะเลเสื่อมโทรม > ปลาลดจำนวนลง > ชาวประมงจับปลาได้น้อย (เดือดร้อนถึงผู้บริโภค ราคาปลาสูง๗ > เศรษฐกิจชาติต่ำลง

ของเสียไม่บำบัด > น้ำทะเลเสื่อมโทรม > แหล่งท่องเที่ยวไม่สวยอีกต่อไป > ไม่มีนักท่องเที่ยว > แม่ค้า เจ้าของรีสอร์ทปิดตัว > ตกงาน > เศรษฐกิจสังคมต่ำ คุณภาพชีวิตต่ำ

คงจะพอเห็นภาพโดยรวมนะคะว่า ธรรมชาติ และเศรษฐกิจ และ ความเป็นอยู่ มีความเกี่ยวเนื่องกันอยู่
ไม่มีอะไรในโลก "แยกอยู่อย่างโดดเดี่ยว" ทุกสิ่งที่เราทำ ส่งผลกระทบต่ออีกสิ่งเสมอ และท้ายที่ทุดสิ่งนั้นก็จะกลับมากระทบต่อเราในบางรูปแบบ เป็นวัฏจักรของโลก

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2550

Sustainable Development

last few weeks, we had 'Sustainable Development' class provided by ' CSF, Center for Sustainable Future' (http://csf.plymouth.ac.uk/?q=node) run by University of Plymouth. the class did attract every one by its amazing theory such as 'let your kids back to nature'. I bear in mind one theory presented by our lecturer, Alan,........................

Awareness=>knowledge=>understanding=>care=>responsibilities=>ACTION

Buckminster Fuler: “You never change things by fighting the existing reality. To change something, building a new model that make the existing model obsolete” OUT OF BOX

“If you have to make thing change, you have to change the CULTURE.” Make things go well with you!!!

Meadows et al (2005) a sustainable society

Understand=>sufficient (Skills/knowledge)=>Recognise

After the class, i went to univ. lib to get a book namely ' Education for sustainability' . i spent few hours on it, but only one thing i remember is Tevevision plays an important role on teenager and is powerful tool to get their attention. on the same day, i borrow a movie, An inconvenient truth, of which Al Gore conveyed key message through the movie using media as a tool. Mention to the book and the movie, it is clear that team producer of the movie used the same theory describe in the book. this is just my observation of which i think the movie get the key messages across the audiences effectively measuring on my feeling as one of those audience. the movie inspired me starting to do some action, using my knowledge, encouraging people surrounding me, for example.


Again, I have been asking myself that ' which thesis topic should be ?' i want to do something which is not just response my curiosity but also can be used in forthcoming future in Thailand esp. Chonburi as well.

just rough idea come across my head " Thai's perception of Marine Environment and its benefitial" of which using search article in sciendirect as guideline .

Today my good friend, Naveen, asked me that 'Will I study Ph.D?' after hold the master. um....Good question, but only one answer i can say is i want to earn some experience on working and get specific field that i am really interested in related to water management to enhance effectiveness of studying Ph.D.


วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550