วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เล่าเรื่อง "น้ำ"

ที่อังกฤษเค้าเรียนกันด้านนี้เยอะมากๆ และงานรองรับเยอะด้วยทั้งองค์กรในประเทศและต่างประเทศ ชาวอังกฤษมีโอกาสหางานด้านนี้เยอะกว่าเราเพราะองค์กรที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารเป็นหลัก ถ้าเราสามารถทำงานใช้ภาษาได้ก็ไม่ต้องห่วงเรื่องงานค่ะ

คุณภาพของทะเล ก็คือคุณภาพของโลกนะคะ ถ้ารู้จักทะเลแล้วต้องตะลึงในความน่าทึ่งและ ผลกระทบต่อโลกมีมากมหาศาลจนอยากจะพูดได้ว่าสุขภาพของสิ่งมีชีวิตบนพื้นดิน ได้รับผลพวงจากท้องทะเล และในทางกลับกัน สุขภาพของทะเล ก็ได้รับจากพื้นดินเช่นกัน

ที่ ออกเตรเลีย อังกฤษ อเมริกา ผู้คนให้ความสนใจวิทยาศาสตร์ทางทะเลมากค่ะ ยิ่งตอนนี้เรื่องภาวะโลกร้อน ระดับน้ำทะเล อุณหภูมโลกและน้ำทำเล ส่งผลกระทบทุกด้าน เอาเป็นว่าที่ออสเตรเลีย เขาหาเสียงกันด้วยการยกประเด็นเรื่องแก้ไขปัญหาโลกร้อนมาเรียกคะแนนโวท ท่าทางจะสำเร็จซะด้วยนะคะ
ที่อังกฤษ นโยบายระดับชาติ ผนวกเอาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลมาช่วยในการออกนโยบายการจัดการด้านน้ำท่วม Flood risk management เขาเตรียมรับมือกับภาวะน้ำทำเลสูงขึ้นด้วยนโยบายใหม่ออกมเื่อต้นปี2000 ชื่อ Making Space Fore Water (DEFRA, ใช้การจัดการแบบระบบธรรมชาต soft engineer (เช่น สร้างพื้นที่ saltmarsh) แทนระบบโครงสร้างอย่างเขื่อนคอนกรีต (seawall, hard engineer)

เห็นได้ว่า ประเทศพัฒนาแล้วมีความรู้และพยายามศึกษาธรรมชาต และผนวกธรรมชาติร่วมในการตัดสินใจในนโยบายระดับชาติ แต่น่าเศร้าที่ ประเทศไทยเรายังไม่มีการับมือด้านนี้อย่างพอเพียง ดังนั้นเมื่อเกิดภัยภิบัติในรูปแบบต่างๆ ความเสียหายจึงมากกว่าประเทศเจิญแล้ว นั่นไม่ใช่เพราะว่าเราโดนภัยธรรมชาติที่หนักหนา แต่เป็นเพราะเราขาดแคลนการจัดการที่มีประสิทธิภาพที่จะรับมือกับเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นทั้งที่คาดไว้ และไม่คาดคิด

นี่ล่ะคือข้อแตกต่างที่ใหญ่ยิ่งระหว่าง ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศพัฒนาแล้ว ที่้เรา ประเทศไทยและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องเร่งมือปรับปรุง โดยเริ่มจากการตระหนักรู้ว่าเราอยู่ตรงไหนก่อนเป็นอันดับแรก

ข้างบนนั้นเป็นแง่ของการจัดการ ซึ่งหลักๆแล้วองค์กรรัฐบาลเป็นผู้ดูแล
แล้วเราล่ะ ประชาชนผู้ซึ่งมาจำนวนมหาศาาลมากก่วาผู้ออกนโยบายหลายสิบเท่าตัว
เราตระหนักรู้ขนาดไหนว่าเรายืน ณ. จุดไหน ส้ราง หรือ ทำลายสิ่งแวดล้อม (ทั้งรู้ตัว และไม่รู้ตัว)

เราอาจจะคิดว่าเราแค่คนๆเดียว จะส่งผลอะไรมากมายต่อโลกทั้งไป ต่อประชากร 7,000 ล้านคนทั่วโลก ทุกวันนี้ทุกคน (ส่วนมาก) คิดแบบนี้ แต่เพราะความคิดแบบนี้แหล่ะที่ทำลายเราทั้งโลก

นักวิทยาศาสตร์ สำรวจและยืนยันแล้วว่า มลพิษที่ส่งผลต่อน้ำทะเลมากที่สุด มาจาก "การขับถ่ายของมนุษย์" (ลองคิดดูว่า เพราะเราต้องการประหยัดเงินในการติดตั้งถังบำบัดเพราะคิดว่าไม่เป็นไรหรอก ครอบครัวเรามีแค่สองสามคน จะส่งผลกระทบอะไรมากมาย แต่เผอิญว่าหลายๆครอบครัวคิดแบบนี้)

มาดูวงจรการสุญเสียที่เกิดขึ้นจาก การขับถ่ายของมนุษย์ที่ไม่ได้บำบัดกันนะคะ

ของเสียไม่บำบัด > น้ำทะเลเสื่อมโทรม > ปลาลดจำนวนลง > ชาวประมงจับปลาได้น้อย (เดือดร้อนถึงผู้บริโภค ราคาปลาสูง๗ > เศรษฐกิจชาติต่ำลง

ของเสียไม่บำบัด > น้ำทะเลเสื่อมโทรม > แหล่งท่องเที่ยวไม่สวยอีกต่อไป > ไม่มีนักท่องเที่ยว > แม่ค้า เจ้าของรีสอร์ทปิดตัว > ตกงาน > เศรษฐกิจสังคมต่ำ คุณภาพชีวิตต่ำ

คงจะพอเห็นภาพโดยรวมนะคะว่า ธรรมชาติ และเศรษฐกิจ และ ความเป็นอยู่ มีความเกี่ยวเนื่องกันอยู่
ไม่มีอะไรในโลก "แยกอยู่อย่างโดดเดี่ยว" ทุกสิ่งที่เราทำ ส่งผลกระทบต่ออีกสิ่งเสมอ และท้ายที่ทุดสิ่งนั้นก็จะกลับมากระทบต่อเราในบางรูปแบบ เป็นวัฏจักรของโลก

1 ความคิดเห็น:

Tutor Kitty กล่าวว่า...

ทุดทีเลยเวลาคิดเรื่องน้ำ ร่ายยาวไปนิด แต่ก้คาดว่าคงจะจุดประกายควาคิดอะไรบ้าง

ส่วนตัวแล้ว คิดว่า เรียนอะไรก็ได้ที่ชอบและทำให้เราอยากรู้เพิ่มเข้าไปอีก แต่ที่สำคัญที่สุดท้ายที่สุดแล้ว ต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่า "จะเอาความรู้ที่มีมาสร้างประโยชน์ให้กับ ประเทศ และโลกใบนี้อย่างไร" แม้จะเป็นเพียงความคิดเล็กไ อย่าดูถูกความคิดเล็กไเหล่านั้น เล็กๆหลายๆเล็ก ก็จะรวมกันยิ่งใหญ่ซักวัน เหมือน ไม้ซี่งัดไม้ซุงไม่ได้ อต่ถ้าเอาไม้ซี่มารมัดรวมกับ ก็มีโอกาสที่จะวัดไม้ซุงได้เหมือนกัน